วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทสวดพระแม่กวนอิม
















บทสวดคาถาพระชินบัญชร

บทสวดพระคาถายอดพระกันฐ์ไตรปิกฎ

บทสวดทำวัตรเช้า

ทำวัตรเย็นแปล

คาถาพาหุงมหากา

คาถาสวดบูชาให้พ้นจากความตกต่ำ ชีวิตเจริญรุ่งเรืองขึ้น

เมตตปริตร (กะระณียะเมตตะสุตตัง)

สวดบูชาให้พ้นจากความตกต่ำ ชีวิตเจริญรุ่งเรืองขึ้น


เนื้อมนต์กล่าวถึงอานุภาพของพระพุทธเจ้าที่ได้แผ่เมตตาไว้ และการ

เทศนาเรื่องการแผ่เมตตาให้แก่พระภิกษุจำนวน 500 รูป เมื่อการตั้งจิตแผ่

เมตตาเป็นผล ย่อมส่งผลให้ผู้สวดรอดพ้นจากความตกต่ำ เกิดไฟส่องทาง

ให้ชีวิตมีแต่แสงสว่า มีความก้าวหน้า



กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี



สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ



นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา



เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา



ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา


นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ



มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง



เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง



ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ



ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ


คำแปล กรณียเมตตปริตร


กุลบุตรผู้ฉลาด พึงกระทำกิจที่พระอริยเจ้าผู้บรรลุแล้วซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่

สงบระงับได้กระทำแล้ว กุลบุตรนั้งพึงเป็นผู้องอาจ ซื่อตรงและประพฤติตรงดี เป็น

ผู้ที่ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนโยน ไม่มีมานะอันยิ่ง เป็นผู้สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่

เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย เป็นผู้ประพฤติทำให้กายและจิตเบา มีตา หู

จมูก ลิ้น กาย ใจ อันสงบนิ่ง มีปัญญาฆ่ากิเลส เป็นผู้ไม่คะนอง กาย วาจา ใจ และ

ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงกระทำกรรมที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายติเตียน ผู้อื่นว่าทำ

แล้วไม่ดี พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีจิตเกาะพระ

นิพพานแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย และจงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขทุกเมื่อเถิด

ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ทั้งที่มีตัณหาเครื่องทำใจให้สะดุ้งอยู่

และผู้มั่นคงคือไม่มีตัณหาแล้ว ทั้งที่มีกายยาว ใหญ่ปานกลาง หรือกายสั้น หรือ

ผอม อ้วน เป็นผู้ที่เราเห็นแล้วก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี อยู่ในที่ไกลหรือในที่ไม่ไกล ทั้งที่

เกิดมาในโลกนี้แล้ว และที่ยังกำลังแสวงหาภพเป็นที่เกิดอยู่ดี จงเป็นเป็นผู้ทำตน

ให้ถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นอย่าพึงรังแกข่มเหงสัตว์อื่น อย่าพึงดูหมิ่นใครในที่ใด ๆ

เลย ไม่ควรปรารถนาให้กันและกันมีความทุกข์ เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะ

ความเคียดแค้นกันเลย

มารดาย่อมตามรักษาบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด กุลบุตรพึงเจริญ

เมตตาจิตในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวงทั้งหลายแม้ฉันนั้น บุคคลพึงเจริญ

เมตตาให้มีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

การเจริญเมตตาจิตนี้เป็นธรรมอันไม่แคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น

จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงเพียงใด ก็

สามารถตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกิริยาอย่างนี้ว่า เป็นการ

เจริญพรหมวิหารในศาสนานี้ บุคคลผู้ที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงความเห็นผิด เป็นผู้มีศีล

ถึงพร้อมแล้วด้วยความเห็นคือปัญญา นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกได้

แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความเข้าไปนอนในครรภ์เพื่อเกิดอีกโดยแท้แลฯ












คาถามงคลพระปริตร

http://youtu.be/c8RPGiNqO5w?hd=1
มงคลปริตร (มงคลสูตร)
สวดบูชาให้พ้นจากสิ่งอัปมงคล เนื้อมนต์กล่าวถึงหลักปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีแต่สิริมงคล มีความสุข
ความเจริญสูงสุดถึง 38 ประการ

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนา
ถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา
อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุ
ปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะ
มันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะสันตุฎฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมัง คะละมุตตะมังฯ

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ


คำแปล
ข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้
เมืองสาวัตถีครั้งนั้นแลเทพดาองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มี
รัศมีอันงามยิ่งนัก ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่
โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
เจ้า แล้วได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดานั้นยืนในที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่งแล้วแล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า

หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอ
พระองค์จงเทศนามงคลอันสูงสุด

- ความไม่คบชนพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ ความบูชาชนควร
บูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑
ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาอันชน
กล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑ การงานทั้งหลายไม่
อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑ ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ กรรม
ทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทใน
ธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ ความเป็นผู้รู้
อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน ๑ ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอัน
สูงสุด,

- ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ ความเจรจา
ธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑ ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย
๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่มีโศก
ปราศจากธุลีเกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

- เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทพดาและ
มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.